วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556

ประวัติปลาทอง

ประวัติปลาทอง


                            ปลาทองมมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและญี่ปุ่น ต่อมาถูกนำไปเลี้ยงในยุโรปเมื่อศตวรรษที่ 17 และถูกนำไปเผยแพร่ในอเมริกา ในศตวรรษที่ 19 ชาวจีนและชาวญี่ปุ่นรู้จักผสมพันธ์ปลาทองมานานแล้วและได้ปลาทองลูกผสมที่น่าสนใจ มีสีหลากหลายตั้งแต่สีแดง สีทอง สีส้ม สีเทา สีดำและสีขาว แม้กระทั่งปลาทองสารพัดสีในตัวเดียวกัน ปลาทองมีชีวิตอยู่ตามแหล่งธรรมชาติจนกระทั่งมีชาวจีนบางคน ได้จับมาเลี้ยงตามบ่อเพราะดูน่าตาสวยดี สีสันแปลกตา สร้างความเพลิดเพลินใจได้เป็นอย่างดี จึงเลี้ยงสืบต่อกันมาเรื่อย ๆ ทำให้มีการ แปรผันผันแปร และพัฒนาเรื่อยมา ประกอบกับความนิยมเลี้ยงที่มีมากขึ้นเรื่อย ๆ
                          
                        ทำให้ปลาทองที่เลี้ยงมีรูปร่างหน้าตาเปลี่ยนแปรไป เช่นแต่เดิมปลาทองจะหาอาหารตามบ่อน้ำธรรมชาติเพื่อเลี้ยงชีวิตซึ่งต้องออกเรี่ยวออกแรงไขมันส่วนเกินก็ไม่มีหุ่นก็เพรียวลม ครั้นย้ายนิวาสสถานมาอยู่ตามบ่อเลี้ยง อาหารปลาก็ถูกนำมาเสริฟกันถึงขอบบ่อ แถมเสริฟเป็นเวลาซะด้วย ทำให้ปลาทองบางตัวพุงป่องดูอ้วนตุ้ยนุ้ยขึ้นและหากลักษณะต่างๆดังกล่าวเกิดเป็นที่ประทับใจมนุษย์หรือคนดูคนชมว่าสวยแล้ว ก็จะถูกขุนขึ้นไปเรื่อยๆตามสูตร


                 ปลาทองถูกมนุษย์เลี้ยงมาตั้งแต่อดีต ประมาณ พ.ศ. 1161-1450 หรือนับเป็นพันปีมาแล้ว ปลาทองในสภาพธรรมชาติที่ไม่ได้ถูกมนุษย์นำมาเลี้ยงนั้นก็ได้พัฒนาตัวเอง ทำมาหากินตามธรรมชาติ สืบทอดสายพันธ์มาจนถึงปัจจุบัน ก็แทบจะเป็นคนละปลาเดียวกันกับปลาทองของวันนี้เลย เพราะเมื่อพิจารณาดูจะพบว่าปลาใน ปลาตะเพียนทั้งหลายแหล่ต่างก็อยู่ในเทือกเขาเหล่าตระกูลเดียวกันกับปลาทอง คือ FAMILY CYYPRNDAE

วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2556

วิธีการเลี้ยงและการดูแลปลาทองของเรา

เลี้ยงปลาทองยังไงให้อยู่กับเราได้นานๆ


              ปลาทองเป็นปลาซึ่งมิได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่เป็นปลาที่มนุษย์ผสมคัดพันธุ์ขึ้นมา จนได้ลูกปลาซึ่งมีลักษณะพิเศษเฉพาะออกมา หรือจะเรียกว่าเป็นปลาที่มีลักษณะพิกลพิการก็ได้ ซึ่งปลาเหล่านี้จะมีลักษณะค่อนข้างเปราะบางกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม ปลาทองจะไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้เลยเมื่อถูกปล่อยให้อยู่ร่วมสังคมกับปลาชนิดอื่น(เคยสังเกตไหมครับ)

                     
                          การเลี้ยงปลาทองหากจะว่ากันไปแล้วก็ไม่ใช้เรื่องยากเย็นอะไร เพราะปลาสวยงามชนิดนี้จัดได้ว่าเป็นปลาที่มีความอึดดีอยู่แล้ว ที่สำคัญตอนซื้อต้องระวังปลาที่ป่วยอยู่แล้ว เพราะถ้าเรานำปลาป่วยมาเลี้ยง ต่อให้เลี้ยงดีแค่ไหนก็มีสิทธิตายได้ ดังนั้นเทคนิคการเลี้ยงปลาทองที่อยากแนะนำเพื่อให้ปลาทองอยู่กับเรานานๆ มีหลักพื้นฐานอยู่  3  ข้อ

               1.เลี้ยงในจำนวนที่เหมาะสม โดยดูจากภาชนะที่ใช้เลี้ยง ตู้ที่นิยมเลี้ยงส่วนมากเป็นตู้ขนาด 60 ซ.ม. ( 24 นิ้ว ) จะใช้เลี้ยงปลาทองที่มีความยาว 3-4 ซ.ม. ประมาณ 7-8 ตัว ถ้าหากตู้ปลาไม่ค่อยประดับอะไรมากนัก ควรติดตั้ง”แอร์ปั้ม” เพื่อเป็นการเพิ่มอากาศในตู้ปลา  ถ้าหากแอร์ปั้มมีขนาดใหญ่ ตู้ปลาขนาด 60 ซ.ม. จะสามารถเลี้ยงได้ถึง 15-20 ตัว แต่ต้องคำนึงถึงระบบกรองน้ำด้วย เพราะปลายิ่งมากน้ำก็จะยิ่งสกปรกเร็ว
               2.การให้อาหาร การกินอาหารมากเกินไป ก็เป็นสาเหตุหนึ่งของการทำให้ปลาเสียการทรงตัว  ดังนั้นการให้อาหารทีละน้อยๆจึงเป็นเรื่องที่ดี  ถ้าให้อาหารมากเกินไป ปลากินไม่หมดหรือกินไม่ทั่ว เศษอาหารที่จมลงพื้นตู้หรือก้นบ่อจะเริ่มทำให้น้ำสกปรกได้ง่าย ทำให้เป็นปัญหาต่อผู้เลี้ยงโดยทั่วกัน เพราะเมื่อให้อาหารมากจนเกินไป การย่อยสลายเริ่มเลวลง อาการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆเริ่มตามมา จะเห็นได้ชัดในช่วงหน้าหนาว
               3.ระวังเรื่องคุณภาพน้ำที่แย่ลง สภาพน้ำที่แย่ลงนั้นสืบเนื่องได้หลายสาเหตุ เราควรจะเปลี่ยนน้ำใหม่เมื่อเจอสภาพน้ำดังนี้
                      -น้ำที่ขาวขุ่น
                      -เกิดเป็นฟองขาวขึ้น ไม่ยอมแตกหายไป
                      -ปลาทั้งหมดพร้อมใจลอยเชิดจมูกอยู่ตามผิวน้ำ
                      -น้ำเปลี่ยนเป็นสีขาวขุ่นอย่างกะทันหัน อาจเพราะแบคทีเรีย หรือแอมโมเนียในน้ำสูงเกินไป

                            ทั้งหมดที่กล่าวมานั้นเป็นพื้นฐานของนักเลี้ยงปลาสวยงานเท่านั้น แต่สิ่งที่สำคัญมากกว่า คือ การติดตาม ดูแลเอาใจใส่เลี้ยปลาของท่านอย่างใกล้ชิด จะเป็นการช่วยลดโอกาสเสี่ยงต่อการสูญเสียปลาทองอันเป็นที่รัของท่าได้นะครับ......


ความจำสั้นรักฉันยาว(ปลาทอง)

        รุ้ไมว่า?  ....ปลาทอง มีความจำได้นานเท่าไหร่


     คนเลี้ยงปลาทองบางคนกล่าวว่า ปลาทองของเขาจำหน้าเขาได้ และจะว่ายเล่นทั่วตู้ปลาเมื่อเขาอยู่ แต่จะหลบเป็นชั่วโมงๆ เมื่อมันเห็นคนแปลกหน้าเข้ามาในห้อง และมันจะเช่นนี้แม้ว่าเขาจะไม่อยู่บ้านนานเป็นอาทิตย์ก็ตาม บางคนก็บอกว่า ปลาของเขาจะมาอยู่ที่ตู้ปลาด้านซ้ายตอน 5 โมงเย็นทุกวัน เพราะมันรู้ว่ามันจะได้กินอาหาร พฤติกรรมดังเราเรียกว่า การเรียนรู้แบบเชื่อมโยง (associative learning) ปลาทองคิดว่า เมื่อพบเรา มันจะได้อะไรดีๆ เช่น อาหาร เป็นต้น 

          มักจะมีคำกล่าวที่ว่า ปลาทองมีช่วงความจำแค่ 2-3 วินาที (บ้างก็ว่า 1 วินาที บ้างก็ว่า 7 วินาที) แต่มันไม่ถูกต้องทั้งหมด ปลาทองมีความจำแบบเลือกจำ (selctive memory) หมายถึง พวกมันจะรู้ว่ามีสิ่งที่ได้เกิดขึ้นไปแล้ว แต่มันไม่แน่ใจว่าสิ่งที่เกิดขึ้นมันคืออะไร มันสามารถเรียนรู้ที่จะกินอาการจากเสียงกระดิ่งภายในตู้ปลา หรือแม้แต่ภายในมือเจ้าของมัน เพราะมันจะจำว่ามีสิ่งที่ดีอยู่ในบริเวณดังกล่าวแต่ไม่รู้ว่ามันคืออะไร ในธรรมชาติ ถ้ามีศัตรูเข้ามาใกล้เช่น นกกระยาง เป็นต้น มันจะว่ายไปซ่อนตัวสักพักหนึ่ง แต่มันไม่รู้หรอกว่ามันซ่อนตัวจากอะไร (เออ ดีเหมือนกันแฮะ!) แต่มันรู้ว่ามันควรจะซ่อนตัว
    


          ดังนั้น การที่ปลาทองแสดงออกมาเกิดจากสัญชาตญาณที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมาถึงแม้พวกมันจะมีความจำที่สั้นแต่มันก็ยังจำเจ้าของของมันได้ และมันยังจำเฉพาะสิ่งดีๆที่มันได้รับ